|

ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร ปัญหายอดฮิตของคนวัยทำงาน

ปัญหาเกี่ยวกับ ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เป็นอาการปวดเมื่อยร่างกายที่มักจะพบได้มากในกลุ่มคนวัยทำงาน และมักพบได้มากในกลุ่มพนักงานออฟฟิศ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าอาการออฟฟิศซินโดรม กับพนักงานออฟฟิศนั้น แทบจะเป็นของคู่กันเลยก็ว่าได้ค่ะ โดยอ้างอิงจาก ข้อมูลเชิงสถิติของ รพ.สมิติเวช ในปี 2562 พบว่าคนไทยกว่า 80% มีอาการออฟฟิศซินโดรม! นอกจากนี้ยังรวมถึงอาชีพที่ต้องทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟนเป็นประจำอีกด้วยค่ะ  

อันเนื่องมาจากลักษณะการทำงานที่ต้องนั่งในท่าเดิมๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ จนอาจส่งผลต่อระบบกระดูก และกล้ามเนื้อ ซึ่งอาการที่พบได้บ่อยที่สุดคือ การปวดตึงที่บริเวณ

คอ บ่า ไหล่ ในบางคนมีอาการชาลงมาที่แขนได้ และในกรณีร้าย จะส่งผลให้เกิดอาการมึน และปวดร้าวศีรษะได้อีกด้วยค่ะ 

นอกจากนี้ อาการออฟฟิศซินโดรม ยังส่งผลถึงระบบการย่อยอาหาร ระบบนัยน์ตา และการมองเห็น รวมไปถึงระบบอื่นๆ อีกด้วยค่ะ ออฟฟิศซินโดรมหากปล่อยไว้นานอาจทำให้กลายเป็นปัญหาการอักเสบเรื้อรัง หรือหากมีอาการรุนแรงมาก อาจทำให้หมอนรองกระดูกเคลื่อน  หรือทำให้หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้นะคะ

ที่ THE TOUCH EXCLUSIVE CLINIC ของเรา มีคอร์สพิเศษที่ถูกออกแบบมาสำหรับ รักษาออฟฟิศซินโดรม บรรเทาอาการปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อโดยเฉพาะ Office Syndrome Relaxing

ออฟฟิศซินโดรม คือ อะไร ?

อาการปวด ออฟฟิศซินโดรม คือ (Office Syndrome) โรคชนิดหนึ่งที่เกิดจากพฤติกรรม รวมถึงลักษณะการนั่งทำงานที่ไม่เหมาะสมอยู่เป็นเวลานานๆ เช่น นั่งอยู่หน้าคอมในท่าเดิมเป็นเวลานาน ร่างกายขาดการเคลื่อนไหวเปลี่ยนอิริยาบถ ไม่ค่อยได้ขยับ หรือลุกไปไหนมาไหน ส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดการหดเกร็ง เนื่องจากอยู่ในท่าเดิมๆ เป็นเวลานานเกินไป และการหดเกร็งของกล้ามเนื้อที่ว่านี้เอง อันเป็นสาเหตุของการเกิดการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อนั่นเองค่ะ 

สัญญาณของร่างกายที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม

อาการปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่ว่าจะเป็นอาการปวดเมื่อยบริเวณแผ่นหลัง, อาการปวดเมื่อยตามต้นคอ, บริเวณบ่า, หัวไหล่ รวมไปถึงอาการปวดศีรษะอยู่บ่อยครั้ง โดยไม่ทราบสาเหตุ อาการปวดเมื่อยเหล่านี้นี่แหละค่ะ เป็นสัญญาณเตือนของอาการ “ ออฟฟิศซินโดรม

สาเหตุของ อาการออฟฟิศซินโดรม 

โรคออฟฟิศซินโดรม นั้นมีสาเหตุหลักๆ มาจากปัจจัยดังนี้ค่ะ

  1. สภาพแวดล้อมที่ทำงานไม่เหมาะสม เช่น มีแสงสว่างน้อย อุปกรณ์ที่ใช้ไม่เหมาะสม โต๊ะทำงานอยู่ในระดับที่ไม่พอดี ตำแหน่งหน้าจอคอมพิวเตอร์สูง หรือต่ำจนเกินไป เก้าอี้ที่นั่งไม่มีพนักพิง
  2. อิริยาบถในการนั่งทำงานไม่เหมาะสม เช่น นั่งหลังค่อม หลังงอ นั่งบนเก้าอี้ที่ไม่มีพนักพิง หรือนั่งไม่เต็มก้น นั่งกอดอก นั่งไขว่ห้าง นั่งอยู่ในท่าเดิมนานๆ ไม่ขยับไปไหน

5 อาการของ โรคออฟฟิศซินโดรม 

ส่วนใหญ่แล้วอาการของโรคออฟฟิศซินโดรมนั้น จะแสดงออกมาในรูปแบบของอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเป็นหลักค่ะ โดยจะเริ่มตั้งแต่ปวดกล้ามเนื้อเบาๆ ไปจนถึงอาการปวดอย่างรุนแรงเลยทีเดียว โดยตำแหน่งที่เกิดอาการปวดนั่นมีอยู่หลักๆ ได้แก่

1.อาการปวดตึงบริเวณต้นคอ ปวดบ่า และหัวไหล่แบบเรื้อรัง รวมไปถึงปวดจนหันคอลำบาก โดยสาเหตุของอาการปวดเหล่านี้ โดยส่วนมากจะเกิดจากที่นั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่นานเป็นประจำ 

2.อาการปวดบริเวณต้นแขน อาการชาที่ฝ่ามือ นิ้วมือล็อค สาเหตุของอาการเหล่านี้ จะเกิดจากปัญหาการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็นข้อมือ รวมไปถึงเส้นเอ็นของนิ้วมือค่ะ อันเนื่องมาจากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน (อีกแล้ว) การพิมพ์เอกสารในท่วงท่าเดิมๆ รวมถึงการจับขยับเมาส์ไปมาอีกด้วยค่ะ จากการที่อยู่ท่วงท่าดังกล่าวเป็นเวลานานๆ จึงทำให้กล้ามเนื้อของเราเกิดการกดทับเส้นประสาทจนเกิดพังผืดยึดจับบริเวณดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ส่งผลทำให้เกิดการปวดปลายประสาท  จนเกิดการนิ้วล็อค หรือข้อมือล็อคได้นั่นเอง

3. อาการปวดหลัง จัดเป็นอาการปวดยอดฮิตอันดับต้นๆ เลยก็ว่าได้ค่ะ โดยจะเกิดจากการที่เรานั่งตัวตรง หรือนั่งในท่าเดิมๆ รวมถึงการที่ต้องยืนตรงเป็นเวลานานๆ ค่ะ เนื่องจากการทำตัวให้ตรงเป็นเวลานานนั้น จะส่งผลหมอนรองกระดูกของเราเกิดการหดตัวเป็นเวลานานๆ จนเกิดการอักเสบ และเกิดพังผืดขึ้นค่ะ (คล้ายๆ กับการเอาของหนักๆ ทับฟองน้ำไว้ค่ะ) 

ทั้งนี้ยังมีอาการปวดหลังอีกประเภท โดยสาเหตุอันเนื่องมากจากกล้ามเนื้อบริเวณแผ่นหลังเกิดการเกร็งเพื่อรับน้ำหนักของร่างกายเป็นเวลานาน จนกล้ามเนื้อไม่ยอมคืนตัวค่ะ

4. อาการปวดตึงต้นขา หรือเหน็บชาบริเวณฝ่าเท้า ซึ่งอาการเหล่านี้ ส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่เรานั่งทำงานเป็นเวลานานๆ จนส่งผลให้เส้นเลือดดำบริเวณขาถูกกดทับ ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดเกิดการผิดปกติ จึงเกิดอาการเหน็บชาขึ้นนั่นเองค่ะ 

5. อาการปวดหัวเรื้อรัง อาจจะรวมถึงอาการปวดหัวไมเกรนร่วมด้วย ซึ่งสาเหตุหลักนั้น จะเกิดจากความเครียดในการทำงาน หรือการใช้สายตาในการทำงานเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์งาน อ่านเอกสาร จัดทำข้อมูลต่างๆ ที่ต้องใช้สายตาจ้องหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ทั้งนี้อาจจะรวมถึง สภาพแวดล้อมที่ไม่อำนวย เช่น แสงสว่างในบริเวณของโต๊ะทำงานไม่เพียงพอนั่นเองค่ะ

กลไกการทำงานของคอร์สรักษาออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome Relaxing)

        ตัวเครื่องจะส่งผ่านความร้อนความร้อนเข้าสู่ผิวหนัง โดยการที่ความร้อนผ่านเข้าสู่ผิวหนัง ความร้อนช่วงอุณหภูมิ 42-45 องศาเซลเซียสนั้น มีผลทำให้หลอดเลือดขยายตัวเฉพาะที่ กล้ามเนื้อคลายตัว และออกฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งสารเผื่อลดปวดผ่าน Gate Control Theory พร้อมเร่งกระบวนการขับของเสียออกจากเซลล์กล้ามเนื้อ ส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดการคลายตัว และบรรเทาอาการปวด

ขั้นตอนการรักษาด้วย คอร์สรักษาออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome Relaxing)

1.ตรวจวิเคราะห์ ประเมินอาการโดยนักกายภาพ เพื่อให้นักกายภาพบำบัดตรวจประเมินทางกายภาพ เพื่อหาจุดกดเก็บ (Trigger point) สำหรับการบรรเทาอาการให้ตรงจุด

2.เลือกเครื่องมือ สำหรับใช้ในการรักษา ด้วยเครื่อง Rafos, Robolex บริเวณจุด Trigger point (จุดที่มีอาการปวด)  

จุดเด่นของการรักษาด้วยเครื่อง Rafos

  • ใช้ความร้อนที่อุณหภูมิ 42-45 อาศา ช่วยการไหลเวียนเลือดดีขึ้น
  • ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว
  • ลดอาการปวดได้

จุดเด่นของการรักษาด้วยเครื่อง Robolex 

  • Vacuum Relax กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต น้ำเหลือง และไขมัน
  • Ultrasound Cavitation ปล่อยพลังงานคลื่นเสียงกระตุ้นกล้ามเนื้อ
  • RF ปล่อยคลื่นวิทยุเพื่อการรักษาที่ความร้อน 38-42 องศา
  • Laser ลดการเกิดพังผืด แก้สาเหตุ Office syndrome
  • Deep friction Massage เทคนิคการนวดโดยนักกายภาพบำบัดเท่านั้น เพื่อรักษาอาการปวด อันเนื่องมาจากจุดกดเจ็บ (Trigger Point) เป็นเทคนิกการนวดที่ช่วยคลายจุดกดเจ็บ และกระตุ้นกระบวนการขับของเสียออกจากกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อนิ่มตัวลง พร้อมบรรเทาอาการปวด
  • Self Stretching การยืดกล้ามเนื้อเพื่อ กระตุ้นการไหลเวียนเลือดลดอาการปวด และการหดรั้งของกล้ามเนื้อ ลดความเสี่ยงโอกาสที่ทำให้กล้ามเนื้อจับตัวเป็นก้อน อันเป็นสาเหตุของอาการปวดในอนาคต
  • Cool Pack การใช้ความเย็นเพื่อป้องกันอาการเจ็บปวด หรืออักเสบหลังจากการรักษา 

คอร์สรักษาออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome Relaxing) ความปลอดภัย หรือไม่ ?

  1. ตรวจประเมิน วิเคราะห์ และให้บริการด้วยนักกายภาพบำบัดวิชาชีพที่มีใบประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัดอย่างถูกต้อง
  2. อุปกรณ์ทุกชนิดที่ให้บริการ มีการฆ่าเชื้อ (Sterile) ทุกครั้งก่อนการใช้งาน
  3. เครื่องที่ให้บริการ ได้รับมาตรฐานผ่าน อย.ประเทศไทย

ผลลัพธ์ และความรู้สึกระหว่างทำ ของคอร์สรักษาออฟฟิศซินโดรม Office Syndrome Relaxing      

รู้สึกอุ่นสบาย ไม่ร้อนมาก และไม่เจ็บ ผลลัพธ์ที่ได้ กล้ามเนื้อที่แข็ง guard หนาตัวขึ้น นุ่มลงทันที รู้สึกกล้ามเนื้อคลาย ในกรณีที่มีการหดรั้งมากจนจำกัดการเคลื่อนไหว หลังทำจะสัมผัสได้ว่ามีช่วงขององศาการเคลื่อนไหวที่มากขึ้นทันที สามารถคุมอาการปวดได้ 4-5 ชม. และหายปวดทันทีหลังทำ (อาจหายปวดถาวร หากไม่มีกิจวัตรประจำวันที่กระตุ้นอาการ)

  1. บรรเทาอาการปวดและอาการปวดลดลงตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำ
  2. กล้ามเนื้อที่เป็นก้อนคลายตัว และนิ่มตัวลงสามารถคุมอาการปวดได้ประมาณ 4-5 ชั่วโมงและอาการปวดดีขึ้นทันทีหลังทำในครั้งแรก(อาจหายปวดถาวร หากไม่มีกิจวัตรประจำวันที่กระตุ้นอาการ) 
  3. องศาการเคลื่อนไหวบริเวณคอ บ่า ไหล่ ขยับได้มากขึ้น    
  4. นอนหลับสบายมากขึ้น

ออฟฟิศซินโดรม รักษาที่ไหนดี ทำไมต้องมาทำที่ THE TOUCH EXCLUSIVE CLINIC

        เพราะที่ THE TOUCH Clinic ของเราเลือกใช้เครื่องมือระดับ Premium ในการรักษาออฟฟิศซินโดรม ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในทางกายภาพบำบัดในระบบกลุ่มโรคกระดูก และกล้ามเนื้อโดยตรง พร้อมยังให้บริการโดยนักกายภาพบำบัดเฉพาะทาง และก่อนการรักษาจะทำการตรวจประเมินด้วยแพทย์ และนักกายภาพบำบัดตามลำดับ พร้อมทั้งการนัดติดตามอาการ และให้ home program เพื่อบรรเทาอาการในระหว่างวัน 

โดยสรุปปัญหาของอาการออฟฟิศซินโดรม

แม้จะไม่ร้ายแรงแต่ต้องได้รับการรักษา เพราะหากปล่อยไว้นานอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ โดยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนั่งทำงาน และปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการนั่งทำงานให้เหมาะสม และอย่าลืมออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้ก็บอกลาอาการออฟฟิศซินโดรมไปได้เลย

ปล. เกร็ดความรู้ของฝากจากแอดมิน

แม้ว่าในทางการแพทย์นั้น จะไม่มีการระบุ “ โรคออฟฟิศซินโดรม ” ไว้อย่างชัดเจน แต่ในทางการแพทย์ใช้คำศัพท์เฉพาะทางสำหรับไว้เรียก Office Syndrome นั้น คือ “ กลุ่มอาการต่างๆ ที่เกิดจากการนั่งทำงานในสำนักงาน ” หรือ การรวมเอาหลายๆโรค มาอยู่ในคำว่า Office Syndrome นั่นเอง โดยจะยกตัวอย่างโรคที่เกิดบ่อยๆ ดังนี้

1.Myofascial Pain Syndrome (MPS)  : กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อแบบมีหรือไม่มีจุดกดร้าว มักเป็นที่บริเวณ คอ บ่า ไหล่ สะบัก เมื่อตรวจโดยการคลำ คลึง กด จะรู้สึกปวด และร้าวไปยังบริเวณอื่น เช่น กดที่บ่า แต่ปวดร้าวไปที่หัว จุดกดเจ็บ/กดร้าวพวกนี้ เป็นการตอบสนองจากระบบประสาทอัตโนมัติเพื่อป้องกันการบาดเจ็บต่ออวัยวะอื่น (Protective Mechanism) เช่น เมื่อเรานั่งจ้องคอมฯ ผิดท่า กล้ามเนื้ออยู่ในองศาที่อาจเกิดการฉีกขาดได้ สมองจึงสั่งการให้มีการหดเกร็งค้างของกล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าว เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ แต่นั่นเป็นสิ่งที่เราไม่ได้ต้องการให้เกิดขึ้น เนื่องจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อนั้นได้เหนี่ยวนำตัวรับสัญญาณความเจ็บปวดมาด้วย ทำให้มีอาการปวดตื้อๆ หรือปวดร้าวไปยังบริเวณใกล้เคียง กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน (สามารถรักษาได้ด้วย SMB For Office Syndrome)

2.Herniated Nucleus Palposus (HNP): หรือรู้จักกันในชื่อ โรคหมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาท ซึ่งมี 5 ระดับความรุนแรง โดยมักเป็นที่กระดูกสันหลังส่วนคอ และหลังส่วนล่างโดยอาการที่แสดงให้เห็นชัดคือ มีอาการปวดหลังร้าวลงขา ปวดคอร้าวลงแขน เป็นแบบข้างใดข้างหนึ่ง หรือเป็นทั้งสองข้าง ถ้าไอจะกระตุ้นอาการ ปวดร้าวตามแนวเส้นประสาท หรือมีอาการชา กล้ามเนื้ออ่อนแรงร่วมด้วย (สามารถรักษาได้ด้วย SMB For Office Syndrome)

ทั้งสองกลุ่มโรคไม่ได้มีอันตรายถึงชีวิต แต่ก็เป็นกลุ่มอาการที่สร้างความทรมาน ความยากลำบากและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก การรักษาหรือบรรเทาอาการโดยทั่วไปคงหนีไม่พ้นการกินยา ร่วมกับการทำกายภาพบำบัด และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อลดการเกิดซ้ำ และการรักษาทั้งหมดที่กล่าวมานั้น เป็นเพียงการรักษาตามอาการเท่านั้น ซึ่งหากผู้คนที่มีอาการดังกล่าวยังคงใช้ชีวิตประจำวันที่มีการกระตุ้นอาการแบบไม่รู้ตัวเหมือนเดิม ก็จะทำให้ต้องทานยาไปเรื่อยๆ และเข้าทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งยากที่จะหายขาด