กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท คนนั่งนาน ต้องระวัง!

โรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบ

ในยุคสมัยที่การทำงานส่วนใหญ่ต้องนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน หลายๆ คนอาจเคยประสบกับอาการปวดบริเวณสะโพกเรื้อรังจากการนั่งนานๆ อาการเหล่านี้อาจเป็นจุดเริ่มต้นของ “อาการออฟฟิศซินโดรม”

แต่หากใครมีอาการปวดสะโพกร่วมกับมีอาการร้าวลงขาด้านหลัง รู้สึกชา หรืออ่อนแรง ให้สงสัยว่าอาจเป็นสัญญาณเตือนของ “โรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท” โรคยอดฮิตของคนยุคใหม่ที่ชอบนั่งนานๆ

โรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบ

โรคนี้คืออะไร?

โรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท หรือ กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis Syndrome) เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อ พิริฟอร์มิส (Piriformis muscle) ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อมัดเล็กๆ ลึกๆ บริเวณก้น ไปกดทับ เส้นประสาทไซอาติก (Sciatic nerve) ที่อยู่ใกล้กัน ส่งผลให้เกิดอาการปวดลึกรอบๆ ข้อสะโพก ร้าวลงขาด้านหลัง

ซึ่งสาเหตุของโรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท ยังไม่แน่ชัด แต่อาจเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ กลุ่มอาการนี้มักเกิดจากการอักเสบ การบาดเจ็บ หรือภาวะเลือดออกที่กล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสจนปวดบริเวณก้นร้าวไปยังขา โรคนี้ส่วนใหญ่จะเกิดกับคนที่นั่งทำงานนานๆ ทำให้สะโพกงอหรือคนที่ออกกำลังกายหนักๆ

สัญญาณเตือน เสี่ยงเป็นโรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท ใครมีอาการแบบนี้ต้องระวัง!

  • ปวดลึกๆ บริเวณก้น ปวดสะโพกร้าวลงขา ด้านหลัง 
  • ปวดบริเวณสะโพกตรงบริเวณที่นั่งทับ หรือมีอาการปวดเมื่อนั่งนานๆ เมื่อลุกขึ้นอาการปวดจะเบาลง
  • รู้สึกเจ็บเมื่อใช้มือกดบริเวณสะโพก
  • อาจมีอาการชาเท้า หรืออาการกล้ามเนื้อขาอ่อนแรงร่วมด้วย

ใครเสี่ยงเป็นโรคนี้บ้าง? ปัจจัยและพฤติกรรมเสี่ยง “โรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท”

  • ผู้ที่หักโหมออกกำลังกายมากเกินไป
  • ผู้ที่ชอบวิ่งหรือทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวขาอย่างต่อเนื่องติดกันนานๆ
  • ผู้ที่นั่งเป็นเวลานานๆ นั่งบนพื้นผิวแข็งๆ บ่อยๆ
  • ผู้ที่ยกของหนักเป็นประจำ
  • ผู้ที่เคยมีอาการกล้ามเนื้อสะโพกอักเสบ
  • กล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสตึงหรืออักเสบ
  • เส้นประสาทไซอาติกถูกกดทับจากพังผืดหรือมวลเนื้ออื่นๆ
  • ท่าทางการนั่งที่ไม่เหมาะสม เช่น นั่งไขว่ห้าง
  • โรคอ้วน
  • โรคเบาหวาน

โรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท ป้องกันได้อย่างไร?

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก่อนสาย ก่อนเป็น “โรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท”

  • หลีกเลี่ยงการนั่งนานๆ ควรลุกขึ้นยืนและเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ ทุกๆ 30-60 นาที
  • ยืดกล้ามเนื้อสะโพกและขาเป็นประจำ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เลือกประเภทที่เหมาะสม เช่น ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน โยคะ ยืดเหยียดกล้ามเนื้อสะโพก กล้ามเนื้อก้น กล้ามเนื้อหลัง เป็นต้น
  • รักษาสุขภาพให้สมดุล ควบคุมน้ำหนัก ลดความอ้วน ลดแรงกดทับบริเวณสะโพก
  • หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
  • ปรับท่าทางการนั่งให้ถูกต้อง นั่งตัวตรง เก้าอี้ควรมีความสูงที่พอดี รองรับสรีระ วางเท้าราบกับพื้น หลีกเลี่ยงการนั่งไขว่ห้าง
  • ใส่รองเท้าที่เหมาะสม เลือกใส่รองเท้าที่มีส้นเตี้ย พื้นรองรับรับแรงกระแทกได้ดี

แนวทางการรักษาโรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท

โรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ โดยทั่วไปแพทย์จะแนะนำให้รักษาแบบไม่ผ่าตัด ดังนี้

  • ประคบร้อนหรือเย็น บริเวณที่ปวด
  • ยืดกล้ามเนื้อ บริเวณสะโพกและขา
  • รับประทานยา แก้ปวดและยาแก้อักเสบ
  • ฉีดยาสเตียรอยด์ เข้าที่กล้ามเนื้อพิริฟอร์มิส
  • การผ่าตัด เป็นวิธีสุดท้าย กรณีที่อาการไม่ดีขึ้นด้วยวิธีอื่นๆ
  • ทำกายภาพบำบัด เพื่อยืดกล้ามเนื้อและเสริมสร้างกล้ามเนื้อ

การรักษาโรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท ด้วยเครื่องกายภาพบำบัด

โรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบ

เก้าอี้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า EMS wave chair

เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาโรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท ซึ่งเป็นกลุ่มอาการกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรังบริเวณสะโพก โดยสามารถรักษาด้วยเก้าอี้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ตัวเครื่องจะมีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นระบบปลายประสาทให้ทำงานได้ดีขึ้น ช่วยลดปวดได้ดี รักษาอาการปวดสะโพกได้อย่างตรงจุด

ทำความรู้จัก เก้าอี้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า EMS wave chair แค่นั่งก็ช่วยลดปวดได้! เป็นเก้าอี้ที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เทคโนโลยี HIFEM ช่วยกระตุ้นระบบปลายประสาทให้ทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งเก้าอี้สามารถรักษาอาการปวดเรื้อรังบริเวณสะโพกและขาส่วนบน นอกเหนือจากนั้นจุดเด่นของเครื่องนี้ยังช่วยรักษาอาการปัสสาวะเล็ดหรือกลั้นปัสสาวะไม่ค่อยอยู่ รักษากลุ่มผู้ที่มีปัญหาสุขภาพทางเพศ หรือผู้ที่ต้องการกระชับช่องคลอดได้อีกด้วย

อย่าปล่อยไว้นาน! หากมีอาการปวดสะโพก
ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษา!

โรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบ

โรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบ

โรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบ